Trader Tan Community

Loading...

Trader Tan Community

Register

Economics - Knowledge - 26 เมษายน 2024

Forex & Central Bank ตลาดฟอเร็กซ์และธนาคารกลางเกี่ยวข้องกันอย่างไร

👾 สวัสดีครับ กลับมาพบกันอีกแล้ว กับโลกแห่งการเรียนรู้ในตลาดฟอเร็กซ์ วันนี้แอดพาทุกท่านไปรู้จักตลาดฟอเร็กซ์ ตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก และทำไมมันจึงเกี่ยวข้องกับธนาคารกลางระดับโลก มาครับ บทความนี้มีคำตอบ 

Forex & Central Bank ตลาดฟอเร็กซ์และธนาคารกลางเกี่ยวข้องกันอย่างไร              

Forex & Central Bank 

                     ตลาดฟอเร็กซ์  FOREX ย่อมาจาก Foreign Exchange   หรือ การซื้อขายแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศ ซึ่งเป็นตลาดสำหรับสกุลเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก  ซึ่งนั่นหมายถึง สกุลเงินจากทั่วทุกมุมโลกจะอยู่ในตลาดการเงินนี้นั่นเอง 


แล้วฟอเร๊กซ์ เกี่ยวข้องกับธนาคารกลางได้อย่างไร ?


                    นั่นเป็นเพราะบริษัทในต่างประเทศทั่วโลกนั้นมีหุ้นผูกตดอยู่กับธนาคารกันทุกที่  ไอ่เจ้าสกุลเงินนี่แหละจะเป็นตัวแทนหุ้นของบริษัทเหล่านั้น โดยมีธนาคารกลางเป็นผู้กำหนดนโยบายการเงิน จึงทำให้การตัดสินใจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายการเงิน หรืออัตราดอกเบี้ย กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อราคาในตลาดการซื้อขาย Forex 


                    ซึ่งอัตราดอกเบี้ย  ก็จะมีความแตกต่างกันไป ตามแต่ละสกุลเงินของทุกประเทศในโลก   ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนและง่ายที่สุด เช่น  USD EUR GBP และ JPY ซึ่งเป็นสกุลเงินที่มีการซื้อขายมากที่สุดในโลก ธนาคารกลางที่ใหญ่ของแต่ละประเทศก็จะมี                    

1. ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed)                     

2. ธนาคารกลางยุโรป (ECB)                     

3. ธนาคารแห่งอังกฤษ (BoE)                     

4. ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BoJ) 
                    

ธนาคารเหล่านี้แหละ เป็นผู้มีอิทธิพลและเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในตลาด  หลายๆคนเรียกว่าเจ้ามือ ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจเลยที่ทำไม การที่ธนาคารประกาศข่าวอัตราดอกเบี้ยแต่ละครั้ง จึงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ แถมกราฟในตลาดยังวิ่งปรู๊ดปร๊าด ผันผวนกว่าช่วงไม่มีข่าวสะอีก 
                        

ตัวอย่างการปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางในแต่ละประเทศ ปี 2022


งั้นการจะเทรดฟอร์เร็กซ์ต้องวิเคราะห์ข่าวเก่งใช่ไหม ?
                    แน่นอนว่าไม่จริงเสมอไป บางครั้งเศรษฐกิจที่วนเวียนเป็นวัฎจักร จากเศรษฐกิจมหภาคทั่วไปก็มักโผล่มาให้เราเห็นในรูปแบบเทคนิคคอลด้วยเช่นกัน  นั่นเป็นเพราะธนาคารกลางต้องพยายามสร้างความสมดุลอย่างต่อเนือง แต่บางครั้งเศรษฐกิจมันไม่สามารถคาดการณ์ได้เราจึงจำเป็นต้องวิเคราะห์ทั้งข่าวและกราฟทางเทคนิคด้วย

สามารถการวิเคราะห์ได้จากไหนบ้าง ?

1. การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน    
                    มีจุดประสงค์เพื่อการลงทุนและการซื้อขายระยะยาว จึงเป็นการวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับ GDP ของประเทศ อัตราการว่างงาน อัตราดอกเบี้ย ปริมาณการส่งออก สงคราม การเลือกตั้ง ภัยธรรมชาติ และความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลต่ออุปสงค์และอุปทาน 


2. การวิเคราะห์ทางเทคนิค
                    การวิเคราะห์ทางเทคนิค เป็นรูปแบบการวิเคราะห์ตลาดที่เล็กกว่า ซึ่งเกี่ยวข้องกับ 2 ตัวแปรเท่านั้น คือ เวลาและราคา  นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้การเทรด ฟอร์เร็กซ์ การเทรด Forex ถือเป็นการสร้างโอกาสในการทำเงินและทำกำไรนั่นเอง ซ่งส่วนมากเทรดเดอร์เก่งๆ ก็มักจะวิเคราะห์กราฟแทนการวิเคราะห์จากข้อมูลทางเศรษฐกิจเกือบทั้งสิ้น แต่มักจะเอาข่าวมาช่วยประมวลความคิดเข้าด้วยก็จะดีไม่น้อยเลยแหละ

  👯👯👮👮 เป็นอย่างไรกันบ้างครับ พอจะถึงบางอ้อกันแล้วใช่มั้ย ใดๆในโลกนี้มักเกี่ยวข้องกันเสมอ ในทุกๆสิ่งทุกๆอย่าง ขนาดช้อนยังต้องคู่กับส้อมเลย นับประสาอะไรกับตลาดการเงินจะไม่คู่กับธนาคารได้อย่างไร จริงมั้ย ศึกษาข้อมูลเศรษฐกจให้มากๆแล้วอย่าลืมศึกษากราฟทางเทคนิคเพิ่มเข้าไปด้วย แอดบอกเลย เทรดอย่างไรก็กำไรแน่นอนครับ แอดเอาใจช่วย

 สนับสนุนบทความนี้ด้วยการส่งเพชร 💎ส่งดาว🌟 และกดติดตาม  ในTelegram เพื่อรับข้อมูลข่าวสารการเทรดฟรี :https://t.me/tradertanclub

เรื่องที่น่าสนใจ

Popular

Newest

Features Starter Investor ฟีเจอร์เด็ดในการเข้าทำกำไร

12 กรกฎาคม 2022

What are the barriers to trading? เหตุผลอะไรที่ทำให้เราเทรดแย่ ถอยหลังลงคลองไปเรื่อยๆ

14 เมษายน 2023

Joe โจ ลูกอีสาน Successful traders in Thailand

1 มิถุนายน 2023

Big Win 💸 คืออะไร และ แนวทางที่ทำให้เกิด Big Win🙌

8 มิถุนายน 2023

FCD บัญชีฝากเงินธนาคารไทยในสกุลเงินต่างชาติ

16 มิถุนายน 2023

Features Starter Investor ฟีเจอร์เด็ดในการเข้าทำกำไร

12 กรกฎาคม 2022

เกินอะไรขึ้นกับ เงินเยนอ่อนค่า ต่ำสุดในรอบ 34 ปี หลังธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ตัดสินใจคงดอกเบี้ย

2 พฤษภาคม 2024

Forex & Central Bank ตลาดฟอเร็กซ์และธนาคารกลางเกี่ยวข้องกันอย่างไร

26 เมษายน 2024

ไม่มีเวลาเทรด? ไม่ใช่ปัญหา! เทคนิคการลงทุนสำหรับคนยุ่ง

24 เมษายน 2024

Scallops Chart Pattern

19 เมษายน 2024

Heavy Loss | 5 วิธีรับมือขาดทุนหนัก

19 เมษายน 2024




Skip to content