Trader Tan Community

Loading...

Trader Tan Community

Register

Economics - News - 16 กันยายน 2022

Brexit บทสรุป ที่เจ็บแต่จบ หรือจบแต่ไม่เจ็บ EP.3

หลังจากความยืดเยื้อที่ยาวนานที่กลายเป็นมหากาฬย์ สามปี ของ Brexit ซึ่งในที่สุดก็ใกล้จบสักที แต่กว่าจะจบได้ ก็ยังต้องผ่านด่านไปอีกหลายขุมเลย บทสรุปของการลาออกจาก EU ในครั้งนั้น ส่งผลอย่างไรในครั้งนี้บ้าง เรามาติดตามและอ่านต่อกันให้จบนะครับ

Brexit บทสรุป ที่เจ็บแต่จบ หรือจบแต่ไม่เจ็บ   EP.3

                    👋เมื่อความย่งยากและยุ่งเหยิง อีรุงตุงนังกันในสภามิรู้จบ สิ่งหนึ่งที่ทำให้ป้าเมย์ ต้องตัดสินใจลาออก เพื่อยุติบทบาททั้งน้ำตาก็คือ ข้อตกลง Brexit ถูกตีตกแบบยับเยินในสภาเป็นครั้งที่สอง  ทำให้ป้าเมย์ต้องหาทางขอขยายเวลาออกไปอีกโดย สภายุโรป EU อนุมัติให้สหราชอาณาจักรขยายเวลาการลาออกจาก EU ไปถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2019

                    👋24 พฤษภาคม 2019  นายกฯ เธเรซ่า เมย์ ประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม  หลังการต่อสู้และทนแรงกดดันมาเนิ่นนาน โดยมี นาย บอริส จอห์นสัน ขึ้นเป็น นายกรัฐมนตรีคนต่อไป โดยจอห์นสันกล่าวว่าตนเอง “เชื่อว่าสามารถออกจาก EU โดยดีลข้อตกลงได้สำเร็จ และเขายังเตรียมตัวสำหรับการออกแบบ No-deal Brexit ไว้ด้วย

                   👋👋 ในวันที่ 31 มกราคม 2020 เวลา 23.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นอังกฤษ นายกฯ  บอริส จอห์นสัน ได้ออกมาโพส สหราชอาณาจักรจะออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ และเข้าสู่ “ช่วงการเปลี่ยนผ่าน” เป็นเวลา 11 เดือนนั่นคือจนถึง 31 ธันวาคม 2020  และเขายังได้บอกอีกว่า ต่อจากนี้ คือ ‘“รุ่งอรุณแห่งยุคใหม่”

หลังออกจาก Brexit 

                    👉👉 วันที่ 1 มกราคม 2021 กฎหมายใหม่ที่บังคับใช้ระหว่างอียูและสหราชอาณาจักรในสถานะใหม่จึงได้เริ่มต้นขึ้น ซึ่งกฎหมายฉบับนี้เรียกว่า การเจรจาข้อตกลงทางการค้าและความร่วมมือ (Trade and Cooperation Agreement: TCA) 

                    👉ผ่านมา 1 ปี ที่อังกฤษคาดหวังไว้ว่า หลังจากออกจาก EU เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรจะเฟื่องฟูจากการที่รัฐบาลจะมีอำนาจตัดสินใจในการออกกฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับภาคธุรกิจในชาติของตัวเองอย่างถึงที่สุด

ผลกระทบต่อการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ

                    👋ข้อตกลงทางการค้าเสรีชั่วคราว :TCA ระหว่างสหราชอาณาจักรและอียู  ยังคงดำเนินต่อไป (โดยงดเว้นไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งมีดินแดนติดกับสาธารณรัฐไอร์แลนด์ที่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป เพื่อลดอุปสรรคในการขนส่งสินค้า) ภาคธุรกิจในสหราชอาณาจักรจำนวนหนึ่งเริ่มปรับตัวโดยการตั้งสาขาในสหภาพยุโรป หรือย้ายฐานการผลิตไปสู่ยุโรปอย่างถาวร 

                    👋ผลการสำรวจระบุว่า ผู้ประกอบธุรกิจ 8 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจในภาคการผลิต และ 12 เปอร์เซ็นต์ของภาคค้าส่งและค้าปลีก เริ่มปรับระบบซัพพลายเชนเพื่อเลี่ยงปัญหาและค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น อันเป็นผลมาจาก Brexit 

                    👋ตัวอย่างเช่น JD Sports ร้านมัลติแบรนด์เสื้อผ้าและรองเท้ากีฬาชั้นนำ ที่ย้ายฐานกระจายสินค้าไปยังประเทศเบลเยียม และเตรียมขยายธุรกิจในฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ และ Marks & Spencer ที่ขยายฐานการผลิตไปยังสาธารณรัฐไอร์แลนด์ และปรับโครงสร้างธุรกิจในยุโรป

                    👋ข้อกฎหมายที่แตกต่างกันทำให้เกิดช่องว่างระหว่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ โดยข้อมูลจาก Changing Europe ระบุว่า ปัจจุบัน สหราชอาณาจักรได้ออกกฎระเบียบใหม่อย่างน้อย 38 ข้อที่มีเงื่อนไขแตกต่างจากอียู ซึ่งหลายฝ่าย โดยเฉพาะภาคธุรกิจได้ออกมาแสดงความคิดเห็นว่า อยากจะปฏิบัติตามระเบียบของอียูมากกว่า แม้ว่าอังกฤษจะพยายามออกกฎหมายที่เอื้อกับธุรกิจในประเทศมากขึ้นก็ตาม

                    👉เคราะห์ซ้ำกรรมซัด ทั่วโลกต้องเผชิญกับโรคระบาดครั้งใหญ่ จาก Covid-19( โควิด-19) ที่ทำให้การเคลื่อนย้ายสินค้าและแรงงานต้องชะลอตัวลง แต่สถิติที่ปรากฏก็สะท้อนให้เห็นชัดเจนก่อนที่โควิด 19 จะมา ก็คือภาคการค้าทั้งการนำเข้าและส่งออกได้รับผลกระทบอย่างหนัก 

                👉👉👉อันนี้ก็ต้องทำใจครับ เพราะเป็นกันทั่วโลกจริงๆ ภาคธุรกิจ ภาคการบริการ รวมไปถึงร้านอาหาร ขนส่ง ต้องหยุดกิจการชั่วคราว บางที่ก็ปิดตัวลง ปิดกิจการกันไปเยอะเลยทีเดียว ยังคงต้องรอลุ้นกันต่อไปครับ สำหรับการพื้นตัวจากพิษเศรษฐกิจและโรคระบาดในครั้งนั้น วันนี้ปิดฉากลง สำหรับบทสรุปของ Brexit กันไปแล้ว อย่าลืมอ่านกราฟ วิเคราะห์ข่าวกันบ้างนะครับ รู้ข่าวสารบ้านเมือง เราจะเทรดนำหน้าเทรดเดอร์ไปได้อีกหนึ่งก้าว สวัสดีครับ

“สนับสนุนบทความนี้ด้วยการส่งเพชร 💎ส่งดาว🌟 และกดติดตาม  ใน Blockdit ของเรา 

https://www.blockdit.com/posts/63242ad733a3c4dada643b58

เรื่องที่น่าสนใจ




Skip to content